วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีอยู่ทั่วร่างกาย เปรียบเหมือนกองทัพทหารที่ป้องกันประเทศ ประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง (เป็นที่อยู่ของเซลล์เม็ดเลือดขาว) คือ หน่วยทหาร และท่อน้ำเหลือง ที่ภายในจะเป็น น้ำเหลือง และเซลล์เม็ดเลือดขาว เชื่อมต่อระหว่างต่อมน้ำเหลืองด้วยกันเอง และเชื่อมต่อเข้ากับเส้นเลือด คือ เส้นทางเดินทัพของทหาร ม้าม ไขกระดูก ต่อมทอนซิล Payer's patch ที่อยู่ตามเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นที่ตั้งฐานทัพของทหาร สิ่งแปลกปลอมต่างๆรวมทั้งจุลชีพก่อโรคจะผ่านเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองจากตำแหน่งที่เข้าสู่ร่างกาย เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองเฉพาะที่ และผ่านทางเส้นเลือดและท่อน้ำเหลืองกระจายไปทั่วร่างกาย เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน สร้างมาจาก stem cells ที่อยู่ในไขกระดูก แบ่งเป็น 1) เซลล์ที่ทำหน้าที่กินสิ่งแปลกปลอม เช่น macrophage, monocyte, neutrophil 2) เซลล์ที่มี granule จำนวนมาก ได้แก่ eosinophil, basophil และ 3) เซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่เรียกว่า เซลล์ลิมโฟไซท์ (lymphocyte) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ B cells และ T cells B cells ทำหน้าที่ผลิตภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำที่เรียกว่า แอนติบอดี โดยที่ B cell จะถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน แล้วจึงเปลี่ยนเป็น plasma cells เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนนั้น T cells ทำหน้าที่ด้านการตอบสนองทางด้านเซลล์ เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือจุลชีพแบ่งเป็น 1) เซลล์ CD4 หรือ helper T (Th) cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD4 บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ส่งเสริมเรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวอื่น เช่น B cell ในการสร้างแอนติบอดีจำเพาะ และ T cells เพื่อการเปลี่ยนเป็น cytotoxic T cells (CTL) ดังนั้น CD4+ T cells จึงมีความสำคัญมาก เพราะมีส่วนร่วมในการทำให้มีภูมิคุ้มกันทั้งแบบเซลล์และสารน้ำ 2) เซลล์ CD8 หรือ killer cells หรือ suppressor cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD8 บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ทำลายเซลล์ที่ผิดปกติหรือที่ติดเชื้อจุลชีพ เซลล์เม็ดเลือดขาวพวกนี้จะรู้ได้ว่าเซลล์ชนิดใดเป็นสิ่งแปลกปลอม จากที่เซลล์ชนิดนั้นไม่มีโมเลกุลที่ผิวเซลล์ HLA class I ชนิดเดียวกับเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้น ส่วนสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เรียกว่า แอนติเจน (antigen) และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า epitope แบ่งเป็น B-cell epitope กระตุ้น B-cell เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะ และ T-cell epitope กระตุ้น T-cell แอนติบอดี แอนติบอดี หรือ อิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนที่มีรูปร่างคล้ายตัว Y เปรียบเหมือนรถยนต์ ที่จะเปลี่ยนสีและรูปร่าง ตามลักษณะของเชื้อโรคที่จำเพาะนั้นๆ โดยที่ส่วนยอดของตัว Y จะมีความหลากหลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด เรียกว่า variable region เป็นตำแหน่งที่จับกับแอนติเจน ส่วนที่โคนตัว Y ของโมเลกุลแอนติบอดีจะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็น class ไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เรียกว่า constant region แอนติบอดีกระจายอยู่ตามท่อน้ำเหลือง และเส้นเลือด แอนติบอดีจะจับกับสิ่งแปลกปลอม หรือจุลชีพที่เข้ามาในร่างกาย เพื่อการทำลายจุลชีพนั้นๆ แอนติบอดีชนิด secretory IgA จะอยู่ตามช่องเยื่อบุต่างๆ ในน้ำตา น้ำลาย สารหลั่งในช่องทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด เป็นต้น เพื่อยับยั้งไม่ให้จุลชีพ หรือสิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าร่างกายทางเยื่อบุ Cytokines เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อสื่อสารกันระหว่างเซลล์ cytokines ที่สร้างจาก T- และ B- cells ที่เรียกว่า lymphokines ได้แก่ interleukin (IL)และ interferon ส่วนที่สร้างจาก monocytes และ macrophage เรียกว่า monokines โดย cytokines ที่หลั่งออกมาอาจทำหน้าที่เรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวให้มารวมกันที่ตำแหน่งที่มีสิ่งแปลกปลอม กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ ทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันมีการเปลี่ยนแปลง และ ทำลายเซลล์ ระบบ Complement เป็นระบบที่ประกอบด้วยการทำงานอย่างต่อเนื่องของโปรตีนหลายชนิด เพื่อช่วยแอนติบอดีในการทำลายแบคทีเรีย โดยที่โปรตีนเหล่านี้อยู่ในกระแสเลือดในรูปของ inactive form ปฏิกิริยา complement เริ่มจาก โปรตีน C1 ถูกกระตุ้นด้วยแอนติบอดีที่จับกับแอนติเจนเป็น antigen-antibody complex แล้วจึงมีการกระตุ้นโปรตีนในระบบอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เซลล์เสียสมดุลของภายในเซลล์ ด้วยการเกิดรูที่ผิวเซลล์ เซลล์จึงถูกทำลายMajor histocompatibility complex (MHC) Peter Gorer เป็นผู้กล่าวถึง MHC ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1936 เกี่ยวกับแอนติเจนที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงของหนู ต่อมามีการศึกษาต่อว่าแอนติเจนในกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับกลุ่มแอนติเจนที่สำคัญกับการรับหรือต่อต้านการเปลี่ยนอวัยวะ ที่เรียกว่า histocompatibility antigens และเรียกชื่อว่า histocompatibility-2 (H-2) จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษ 1960 จึงพบความเกี่ยวข้องแอนติเจนนี้กับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน และแบ่งเป็นสองชนิดตามตำแหน่งบนยีน เป็น class I และ class II ในมนุษย์มีการพบว่า human leukocyte antigen (HLA) system นั้นเป็นกลุ่มของยีนที่สร้างแอนติเจนเหมือน MHC genes ในหนู โดยที่ class I คือ HLA-A, -B, -C และ class II คือ HLA-DP, DQ และDR แอนติเจนทั้งสอง classes ถูกสร้างอยู่ที่ผิวเซลล์ เกี่ยวข้องกับแอนติเจนที่แสดงว่าเซลล์นั้นเป็นเซลล์ของตัวเอง ปกติแอนติเจน MHC class I จะพบเพียง 1% ของโปรตีนที่อยู่ที่ผิวเซลล์ทั่วไป แต่จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นด้วย cytokines บางชนิด เช่น interferon gamma สำหรับ Class II MHC อยู่ที่ผิวเซลล์เฉพาะ เช่น dendritic cells, macrophage, B cells, activated T-cellsNatural killer หรือ NK cells อินเตอร์เฟอรอน (Interferon) ที่ถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส กระตุ้นให้เซลล์ NK เพิ่มจำนวน ซึ่งจะไปทำลายเซลล์ติดเชื้อไวรัสแบบไม่จำเพาะ โดยไวรัสทำให้โมเลกุล MHC1 ที่ผิวเซลล์ลดลง เซลล์ NK จะทำลายเซลล์นั้นแต่ไม่ทำลายเซลล์ที่มีโมเลกุล MHC1 เป็นปกติ นอกจากนี้เซลล์ติดเชื้อไวรัสที่มีแอนติบอดีมาจับที่ผิวเซลล์ตรงที่มีส่วน epitopes ของไวรัสปรากฎอยู่ จะทำให้เซลล์ NK และ CTL มาทำลายเซลล์นั้นได้ เรียกว่า Antibody dependent cellular cytotoxicity (ADCC)
การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อจุลชีพ จุลชีพที่จะผ่านเข้าสู่ร่างกาย อาจผ่านเข้าทางผิวหนัง หรือเยื่อบุต่างๆ ซึ่งเป็นที่ๆมีการป้องกันด้วยคุณสมบัติทางกายภาพของผิวหนังและเยื่อบุเอง โดยเป็นด่านแรกของระบบการป้องกันการเข้าสู่ร่างกายจากจุลชีพ ซึ่งจะเป็นแบบ innate immunity ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ประกอบด้วยเซลล์ชนิด phagocytes เช่น เซลล์ macrophage dendritic และ granulocytes เป็นต้น ทำหน้าที่กินและทำลายสิ่งแปลกปลอม แอนติบอดีชนิด IgA และสารหลั่งที่เคลือบตามเยื่อบุ มี lysozyme, lactoferin, หรือภาวะเป็นกรด หรือการเคลื่อนไหวที่บริเวณของผิวเยื่อบุ เช่น การทำงานของ cilia ที่เยื่อบุ การไอ การปัสสาวะจะพัดพาจุลชีพออกมา โดยปกติตามเยื่อบุและผิวหนังก็มีจุลชีพอยู่แต่ไม่ผ่านเข้าสู่ร่างกายเพราะ innate immunity นี้ จุลชีพที่สามารถผ่านเข้าร่างกายทางชั้นผิวหนังหรือเยื่อบุต้องมีคุณสมบัติพิเศษที่จะผ่านการทำลายด้วย non-specific defenses หรือเป็นภาวะที่ผิวหนังและเยื่อบุขาดคุณสมบัติที่จะป้องกัน เช่น เป็นแผล การเกิดภาวะอักเสบ (inflammation response) เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันชนิดไม่จำเพาะที่สำคัญ เกิดจากกลุ่มเซลล์ที่ถูกทำลายโดยจุลชีพ เซลล์ phagocytes ที่จับกินจุลชีพ หรือสิ่งแปลกปลอม และเซลล์ mast ที่ถูกกระตุ้นจากระบบ complement โดยที่เซลล์ต่างๆเหล่านี้จะหลั่งสารเคมีต่างๆ ที่ทำให้เกิดการอักเสบ ได้แก่ เซลล์ mast หลั่ง histamine ทำให้เส้นเลือดขยายตัว (vasodilate) และผนังเส้นเลือดเปิดให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ถูกกระตุ้นออกมาจากเส้นเลือดเข้าสู่ตำแหน่งที่มีจุลชีพมากขึ้น prostaglandins ทำให้เส้นเลือดขยายตัว เกิดไข้และเจ็บปวด และ leukotrienes มีคุณสมบัติเป็น chemotaxis ดึงดูดเซลล์เม็ดเลือดขาวให้มายังบริเวณที่มีสารนี้อยู่ ทั้ง prostaglandins และ leukotrienes สร้างจากเซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์ทั่วไปที่ถูกกระตุ้นโดยจุลชีพ นอกจากนี้เซลล์เม็ดเลือดขาว โดยเฉพาะ lymphocytes และ macrophage ที่มายังบริเวณที่ติดเชื้อจะหลั่ง cytokines ที่สำคัญในการตอบสนองแบบไม่จำเพาะ ได้แก่ interleukin 1 (IL-1) และ tumor necrosis factor (TNF) ที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ไข้ และที่สำคัญ คือ กระตุ้นให้มีเซลล์เม็ดเลือดขาวมามากขึ้น เพื่อการเกิดการตอบสนองระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะต่อไป หรือถ้าจุลชีพสามารถถูกทำลายหมดจะกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไปAntigen Receptors ทั้ง B- และ T- cells มีโมเลกุล receptors ที่ผิวเซลล์เพื่อจับกับแอนติเจน สำหรับ B-cell เป็นโมเลกุลของอิมมูโนโกลบูลินที่เกาะที่ผิวเซลล์ ส่วนของ T-cell คือ T-cell receptor, TRC หรือ CD3 เป็นโมเลกุลที่ซับซ้อนกว่า ที่จะจำและจับกับแอนติเจนที่หลากหลายถูกนำเสนอโดย antigen-presenting cell เท่านั้น
การกระตุ้น B Cells ให้สร้างแอนติบอดี B-cell จะจับกับแอนติเจนที่จำเพาะด้วย antibody receptor ที่ผิวเซลล์ และนำส่วนแอนติเจนเข้ามาในเซลล์ เปลี่ยนแปลงและนำเสนอที่ผิวเซลล์ร่วมกับโมเลกุล HLA class II ซึ่งทำให้ T helper-cell มาจับและถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจนที่ถูกเสนอจาก B-cells T-cell หลั่งสาร lymphokines ที่ไปสั่งให้ B-cell เปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็น plasma cell เพื่อสร้างแอนติบอดีต่อไป เมื่อเริ่มได้รับจุลชีพครั้งแรกแอนติบอดีจะถูกสร้างขึ้นมากจนถูกตรวจพบได้ภายใน 7-10 วันหลังจากที่ได้รับจุลชีพปริมาณของแอนติบอดีจะค่อยๆเพิ่มขึ้น และลดลงจนใกล้ระดับเมื่อเริ่ม เรียกการตอบสนองแบบนี้ว่า primary response เมื่อได้รับจุลชีพนั้นอีกครั้งระดับแอนติบอดีนี้จะสูงจนตรวจพบได้ภายใน 24 ชั่วโมง เรียกการตอบสนองแบบนี้ว่า secondary response แอนติบอดียับยั้งการติดเชื้อ ด้วยการ neutralize กับจุลชีพนั้น โดยใช้ส่วนปลายโมเลกุลอิมมูโนโกลบุลินรูปตัว Y จับกับจุลชีพ ถ้าเป็นไวรัส จะทำให้ไวรัสนั้นไม่เข้าสู่เซลล์เป้าหมาย และกระตุ้นระบบ complement ทำลายจุลชีพ หรือกระตุ้นระบบ ADCCการกระตุ้น T cells: Helper และ Cytotoxic เมื่อ antigen-presenting cells (เช่น macrophage, dendritic cells) กินจุลชีพหรือสิ่งแปลกปลอม แอนติเจนจะถูกเปลี่ยนแปลงและนำเสนอที่ผิวเซลล์ร่วมกับโมเลกุล HLA class II ที่ไปจับกับ Th-cell ทำให้มีการหลั่ง lymphokines ซึ่งจะไปทำให้ T cells ชนิดต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง เช่น Th cells เพิ่มจำนวนและเปลี่ยนแปลงเป็น memory cells CD8+ T cells เป็น cytotoxic T lymphocyte (CTL) ซึ่งจะไปทำลายเซลล์ติดเชื้อที่มีแอนติเจนของจุลชีพนั้นเสนอที่ผิวเซลล์ร่วมกับโมเลกุล HLA class I จุลชีพบางชนิดเป็น intracellular เช่น ไวรัส และ mycobacteria เมื่อถูกกินด้วย macrophage จะไม่ถูกทำลายแต่จะอยู่ในเซลล์และเพิ่มจำนวนได้ แอนติบอดีจะไม่สามารถจัดการทำลายจุลชีพที่อยู่ภายในเซลล์ได้ จำเป็นต้องใช้เซลล์ CTLs มาทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสนี้ และหลั่งสาร cytokines ที่ทำให้ macrophage ทำลายจุลชีพ Mycobacteria ได้ perforin ซึ่งเป็นโปรตีนที่ถูกสร้างจากเซลล์ CTL ซึ่งถูกพบใน granules ภายในเซลล์ มีส่วนในการทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อ ทั้งแบบ apoptosis และ จากสาร cytokines ที่ถูกหลั่งจากเซลล์ CTL ด้วยเช่นกัน เช่น interferon-g (IFN- g) ที่ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในเซลล์ ด้วยการกระตุ้นเอนไซม์ 2 ชนิด คือ 2', 5' oligo-A synthetase ซึ่งไปทำให้เอนไซม์ Rnase L เปลี่ยนจาก inactive เป็น active form ย่อยยีโนมอาร์เอ็นเอ และ mRNAs ของไวรัส กับ เอนไซม์ p68 kinase ซึ่งไปทำให้ eIF-2a เปลี่ยนจาก active เป็น inactive form ยับยั้งการเริ่มสร้างโปรตีนของไวรัส tumor-necrosis factor (TNF) กระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเชื้อเอชไอวีโดยจับที่บริเวณ 5' long terminal repeat (LTR), chemokines ได้แก่ MIP-1a, MIP-b, RANTES ซึ่งไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัส ด้วยการแย่งจับกับ CCR5 เซลล์ CTL ยังสร้างสารยับยั้งไวรัส เรียกว่า CD8+ T-cell antiviral factor (CAF) ซึ่งไปยับยั้งการสร้าง mRNAs จากส่วน LTR ที่เป็น promoter ของเชื้อเอชไอวี เมื่อ B- และ T- cells ถูกกระตุ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็น memory cells เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อมีการนำเสนอแอนติเจนชนิดเดิมอีกครั้ง ระบบภูมิคุ้มกันที่มี memory B-, T- cells จะเข้ามาทำลายแอนติเจนนั้นอย่างรวดเร็ว การเกิดภาวะ Long-term immunity นี้อาจเกิดจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ หรือจากการได้รับวัคซีน ในระยะแรกของการติดเชื้อ ปริมาณเซลล์ CTL จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณไวรัสที่เพิ่มขึ้น จนถึงจุดสูงสุดซึ่งทำให้ปริมาณไวรัสในเลือดลดลง และความสัมพันธ์ของปริมาณ CTLs กับปริมาณไวรัสจะแปรผกผันกันตลอดระยะเวลาการติดเชื้อเอชไอวีจนกระทั่งเข้าสู่ระยะเอดส์ การหลบหลีกจากระบบภูมิคุ้มกันของเชื้อเอชไอวี ไวรัสมีวิธีหลบหลีกภูมิคุ้มกันของร่างกายต่างๆกัน จากทั้งปัจจัยของไวรัสและเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ในส่วนปัจจัยของระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ การลดปริมาณโมเลกุล MHC1 ที่ผิวเซลล์ที่ติดเชื้อ การเพิ่มจำนวนภายในเซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เชื้อเอชไอวี การเพิ่มจำนวนในที่ซึ่งเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันเข้าไปไม่ถึง เช่น herpes simplex virus แอบแฝงที่ปมประสาท เป็นต้น ส่วนทางด้านปัจจัยไวรัส ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงลักษณะของแอนติเจน ทำให้ epitopes เปลี่ยนไป จึงไม่ถูกกำจัดโดยระบบภูมิคุ้มกันเดิม การแพร่กระจายจากเซลล์ถึงเซลล์โดยไม่ออกมาข้างนอก เช่น respiratory syncytial virus ปัญหาความล้มเหลวของระบบภูมิคุ้มกันในการทำลายเชื้อเอชไอวี ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไปจนเกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ โรคเอดส์ในระยะสุดท้ายนั้น อาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มได้รับเชื้อเอชไอวี ไวรัสไปเพิ่มจำนวนใน CD4+ T cells โดยเฉพาะเริ่มตั้งแต่ในต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันทั้ง B- และ T- cells ซึ่งก็จะทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะต่อเชื้อเอชไอวี เริ่มจาก T helper-cell ที่สร้าง cytokines ต่างๆ และกระตุ้น CD8+ T cell ให้เปลี่ยนเป็นเซลล์ CD8+ CTL และ B-cell ให้เปลี่ยนเป็น plasma cell เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะ โดยที่เซลล์ CTL ทำหน้าที่หลักในการกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส ส่วนแอนติบอดีเป็น neutralizing antibody ที่ช่วยจับอนุภาคไวรัสอิสระที่หลุดออกมาจากเซลล์ไม่ให้เข้าไปในเซลล์ใหม่ โดยทั่วไปในการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ทั้งแอนติบอดีและเซลล์ CTL จะมีความสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อครั้งต่อไป แต่ในการติดเชื้อเอชไอวี ถึงแม้จะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นทั้งแบบเซลล์และสารน้ำแล้ว ไวรัสก็ยังคงไม่ถูกกำจัดออกไปจากร่างกาย และยังเพิ่มปริมาณมากขึ้นเป็นลำดับ โดยไวรัสจะเพิ่มจำนวนวันละประมาณ 10(11) อนุภาคต่อวัน ทำให้ระดับไวรัสเพิ่มขึ้น 0.1 log/ml และระดับเซลล์ CD4 ลดลงประมาณ 50-100 เซลล์/ม.ม. ต่อปี จึงมีผลทำให้เซลล์ที่ติดเชื้อ ซึ่งก็คือ เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ทั้ง T-cells และ macrophage ลดปริมาณลงเป็นลำดับ จนไม่สามารถทำงานเป็นปกติในการป้องกันการติดเชื้อจุลชีพอื่นๆ จึงเกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการลดลงของเซลล์ CD4 ชนิด quiescent naive (CD45RA+CD62L+) แต่มีการเพิ่มของเซลล์ CD4 ชนิด activated/memory effector (CD45RO+) และมีการลดลงของ T-cell receptor และการทำงานก็เสียด้วย การทำลายเซลล์ CD4+ ที่ติดเชื้อมีสาเหตุจากการเกิด apoptosis ซึ่งเป็นผลของโปรตีนไวรัสสองชนิด คือ โปรตีน Env และ Vpr การสูญเสียหน้าที่ของเซลล์เมมเบรนจากการเกิด syncytial formation และจากการสะสมของโพรไวรัลดีเอ็นเอที่อยู่ในไซโตพลาสม รวมถึงการทำลายจากระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนการทำลายของเซลล์ CD4+ ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี มีสาเหตุจาก โปรตีน Env (gp120) ที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดไปจับกับ โมเลกุล CD4+ ของเซลล์ที่ไม่ติดเชื้อ ทำให้ถูกทำลายโดย apoptosis จากเซลล์ CTL หรือการเกิด syncytia กับเซลล์ที่ติดเชื้อ เชื้อเอชไอวีมีการกลายพันธุ์สูง เนื่องจากการทำงานของเอนไซม์ reverse transcriptase ของไวรัสที่เปลี่ยนยีโนมของไวรัสจากอาร์เอ็นเอ เป็น ดีเอ็นเอ ไม่มีการตรวจสอบ nucleotide base ที่ใส่เข้าไป ทำให้มีการผิดพลาดไป 1 เบส ต่อการ replication 1 ครั้ง ผลก็คือแอนติเจนของไวรัสที่นำเสนอต่อเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันเปลี่ยนไปตลอดเวลา จนเซลล์ CTL ไม่สามารถทำลายเซลล์ติดเชื้อได้ทัน และที่สำคัญ คือ แอนติเจนตรงที่เป็น T-cell epitopes อาจเปลี่ยนไปจนไม่สามารถถูกนำเสนอร่วมกับโมเลกุล HLA หรือถูกเสนอร่วมกับ HLA แต่มีรูปร่างที่ผิดไป ทำให้ killer cells หรือเซลล์ CTL จดจำไม่ได้และไม่ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อนั้น หรือแอนติเจนที่เปลี่ยนไปจนไม่เหมาะที่จะจับกับโมเลกุล receptor บนผิว T-cells ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้เซลล์ CTL ไม่สามารถควบคุมกำจัดเชื้อเอชไอวีได้ ซึ่งเหมือนกับไวรัสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อแบบ persisting ชนิดอื่น แต่กลไกต่างกัน เช่น Epstein Barr virus ใช้กลยุทธ์ไม่สร้างโปรตีนของไวรัสในเซลล์ที่ติดเชื้อ แอบแฝงอยู่ อย่างไรก็ตามการทำงานของเซลล์ CTL จะต้องถูกส่งเสริมด้วย Th-cells ซึ่งก็ถูกทำลายเป็นลำดับในระหว่างการติดเชื้อเอชไอวี จึงทำให้ การทำงานของเซลล์ CTL ก็ลดลงเป็นลำดับภายหลังการดำเนินการของโรคผ่านไป ในผู้ติดเชื้อบางราย โมเลกุล HLA อาจสามารถนำเสนอแอนติเจนในส่วนที่ไม่กลายพันธุ์ได้ (conserved region) ทำให้เชื้อเอชไอวีถูกควบคุมด้วย CTL ได้ดี จึงมีการดำเนินโรคแบบ non-progressor หรือ ไวรัสเองอาจเป็นชนิดที่กลายพันธุ์ไปไม่ได้มาก ก็จะทำให้ถูกกำจัดได้ง่าย ในภาวะที่ไม่มี killer cells ผู้ติดเชื้อเอชไอวีก็จะมีการดำเนินโรคเข้าสู่ระยะสุดท้ายเป็นเอดส์อย่างรวดเร็ว ภูมิคุ้มกันที่สำคัญในการควบคุมกำจัดการติดเชื้อไวรัส คือ killer T cells ร่วมกับแอนติบอดีจำเพาะ การทำงานที่ล้มเหลวของ killer T cell ทำให้เกิดภาวะการติดเชื้อเอชไอวีแบบ persistent ดังนั้นการผลิตวัคซีนเอดส์ต้องมุ่งเน้นเรื่องการกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งแบบเซลล์และสารน้ำ (CMI และ HI) แอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อเอชไอวีอาจทำให้เชื้อเอชไอวีเข้าสู่เซลล์แมโครฟาจได้ง่ายด้วยวิธี opsonization ส่วนเซลล์ CTL ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้นหลังจากที่ได้รับเชื้อภูมิคุ้มกันจะควบคุมปริมาณของเชื้อเอชไอวีได้ชั่วคราว เซลล์ที่ติดเชื้อจะถูกทำลายด้วยเซลล์ CTL และแอนติบอดีป้องกันเซลล์ใหม่ไม่ให้ติดเชื้อ แต่ก็มีเซลล์ใหม่ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

ระบบสืบพันธุ์

เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากร่างกายจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมีสิวขึ้นมีขนขึ้นที่รักแร้และในที่ลับและมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศของระบบสืบพันธุ์

จากรูปจะเห็นส่วนประกอบต่างๆทั้งภายนอกและภายในของอวัยวะเพศชายอวัยวะเพศภายนอกประกอบด้วยองคชาตและถุงอัณฑะภายในถุงอัณฑะจะมีลูกอัณฑะซึ่งทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิและสร้างฮอร์โมนเพศตัวอสุจิที่ถูกสร้างจะถูกนำไปเก็บไว้ที่ถุงผลิตน้ำอสุจิหรือถุงพักน้ำกามต่อจากนั้นจะมีท่อหลั่งน้ำกามนำน้ำกามมาสู่ท่อปัสสาวะปกติน้ำกามจะถูกสร้างและนำมาเก็บสะสมไว้ที่ถุงพักน้ำกามนี้ตลอดเวลาเมื่อน้ำอสุจิมีจำนวนมากก็จะมีความรู้สึกทางเพศและมีความต้องการทางเพศสูงกว่าปกติและจะเกิดการขับน้ำกามที่กำลังจะล้นนี้ออกมาเองทางท่อปัสสาวะภายใต้กลไกทางจิตใจในตอนกลางคืนความรู้สึกทางเพศจะกระตุ้นให้เกิดความฝันทางเพศเช่นฝันว่าได้กอดจูบหรือร่วมเพศแล้วจะเกิดความรู้สึกทางเพศอย่างสูงจนหลั่งน้ำอสุจิออกมาในขณะหลับเรียกว่า“ฝันเปียก”ปรากฏการณ์เช่นนี้แสดงว่าร่างกายเริ่มมีการสร้างน้ำอสุจิอย่างต่อเนื่องด้วยอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายซึ่งก็แสดงว่าเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นนั่นเอง
ผิวหนังบริเวณ
อวัยวะเพศนี้จะมีความไวต่อการกระตุ้นมากเป็นพิเศษเมื่อไปถูกต้องสัมผัสเข้าจะเกิดความรู้สึกทางเพศองคชาตจะแข็งตัวและขยายตัวขึ้นถึงสองสามเท่าการเกิดความรู้สึกทางเพศจากการได้มองภาพโป๊หรือจากจินตนาการทางเพศก็ทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาตได้เช่นกันเมื่อความรู้สึกทางเพศลดลง
องคชาตก็จะคืนตัวกลับสู่สภาพเดิมในวันหนึ่งองคชาตอาจแข็งตัวได้หลายครั้งบางครั้งอาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมเช่นในขณะเรียนหนังสือหรืออยู่ต่อหน้าผู้อื่นอาจทำให้รู้สึกอายหรือวิตกกังวลเกรงว่าผู้อื่นจะมองเห็นการเบี่ยงเบนความคิดหรือการกระทำให้พ้นจากเรื่องเพศในขณะนั้นจะช่วยให้องคชาตอ่อนตัวลงได้อย่างรวดเร็ว น้ำอสุจิเป็นของเหลวสีขาวข้นประกอบด้วยตัวอสุจิและของเหลวที่สร้างขึ้นจากถุงผลิตน้ำหล่อเลี้ยงอสุจิหรือถุงพักน้ำถามต่อมลูกหมากและต่อมเคาเปอร์ของเหลวนี้จะเป็นอาหารของตัวอสุจิและช่วยให้ตัวอสุจิแข็งแรงเดินทางได้สะดวกเมื่อมีการกระตุ้นทางเพศจนถึงระยะ“สุดยอดทางเพศ”จะมีการฉีดน้ำอสุจิออกมาทางท่อปัสสาวะเป็นจังหวะๆประมาณ10ครั้งห่างกันครั้งละ1วินาทีรวมจำนวนน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาประมาณ2-5ลูกบาศก์เซนติเมตรซึ่งจะมีตัวอสุจิประมาณ120-250ล้านตัว
ตัว
อสุจิเป็นเซลสืบพันธุ์เพศชายที่ผลิตขึ้นมาจากลูกอัณฑะมีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นตัวอสุจิประกอบด้วยส่วนหัวส่วนกลาง(ลำตัว)และส่วนหางซึ่งจะโบกสะบัดทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่ได้เมื่อมีเพศสัมพันธ์กันจนถึงจุดสุดยอดตัวอสุจิจะถูกหลั่งออกมาภายในช่องคลอดของฝ่ายหญิงหลังจากนั้นตัวอสุจิจะแหวกว่ายเข้าไปในมดลูกและท่อมดลูกจนไปพบ“ไข่”ของเพศหญิงตัวอสุจิจะไชเข้าไปภายในไข่ได้เพียงตัวเดียวและผสมกับไข่นั้นเกิดเป็นตัวอ่อนของเด็กรวมการผสมระหว่างตัวอสุจิและไข่นี้เรียกว่า“การปฏิสนธิ”

อวัยวะเพศหญิงส่วนที่สามารถเห็นได้ภายนอกประกอบด้วยเนินหัวหน่าวแคมนอกแคมในเวสติบูลคลิตอริสปากช่องคลอดและช่องปัสสาวะ
อวัยวะเพศภายในผู้หญิงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ประกอบด้วยช่องคลอดมดลูกท่อนำไข่และรังไข่จะสังเกตได้ว่าเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นบริเวณอวัยวะเพศจะมีการเติบโตขยายตัวเพิ่มขนาดขึ้นบริเวณเนินหัวหน่าวซึ่งมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมนูนอยู่ระหว่างต้นขาสองข้างและท้องน้อยจะใหญ่ขึ้นจากการมีไขมันมาสะสมบริเวณนี้จะมีความไวต่อความรู้สึกสัมผัสโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกดเนื่องจากมีปลายประสาทรับรู้อยู่เป็นจำนวนมากด้านล่างของเนินหัวหน่าวจะเป็นแคมนอกซึ่งเป็นรอยพับของผิวหนัง2ข้างมาชนกันแคมนอกประกอบด้วยต่อมเหงื่อต่อมขนและไขมันเมื่อมองจากภายนอกจะเห็นแคมนอก2ข้างเท่านั้นต่อเมื่อเปิดแคมนอกออกจึงจะเห็นแคมในซึ่งเป็นรอยพับของผิวหนังอยู่ระหว่างปากช่องคลอดกับแคมนอกแคมในมีขนาดและสีสันแตกต่างกันบางคนเล็กบางคนใหญ่บางคนมีสีแดงเรื่อๆบางคนมีสีคล้ำแคมในประกอบด้วยเส้นเลือดและเส้นประสาทมากมายจึงเป็นบริเวณที่มีความไวต่อการสัมผัสมากเช่นกัน
ช่องที่อยู่ระหว่างแคมในทั้งสองข้างเรียกว่าเวสติบูลจะมีรูเปิดของท่อปัสสาวะและปากช่องคลอดบริเวณด้านหน้าของเวสติบูลซึ่งแคมในสองข้างมารวมกันจะมีก้อนเนื้อเล็กๆที่เรียกว่าคลิตอริสซึ่งเป็นอวัยวะส่วนที่เปรียบเทียบได้กับองคชาตของฝ่ายชายคือเมื่อมีความรู้สึกทางเพศจะแข็งตัวขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกเท่าตัวเลยทีเดียวบริเวณคลิตอริสจะมีความไวมากที่สุดต่อการสัมผัสเมื่อมีการสัมผัสบริเวณนี้จะเกิดอารมณ์เพศและความต้องการทางเพศได้มากการกระตุ้นที่อื่นๆใกล้ๆได้แก่บริเวณแคมในแคมนอกและเนินหัวหน่าวจะทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศได้เช่นกันเมื่ออวัยวะเพศถูกกระตุ้นจนเกิดความรู้สึกทางเพศผนังช่องคลอดจะขับน้ำเมือกออกมาหล่อเลี้ยงน้ำเมือกยังถูกสร้างและขับมาจากต่อมบาร์โธลินที่ผนังแคมนอกเพื่อให้ช่องคลอดลื่นเหมาะสมในการสอดใส่อวัยวะเพศของฝ่ายชายเมื่ออวัยวะเพศถูกกระตุ้นต่อไปอีกไม่นานความเสียวจะขึ้นจนถึงจุดสุดยอดทางเพศพร้อมๆกับเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายช่องคลอดเกิดการหดตัวเป็นจังหวะ

ช่องคลอดจะเป็นช่องเล็กๆที่มีความยืดหยุ่นได้มากที่ปากช่องคลอดซึ่งเปิดที่บริเวณเวสติบูลจะมีเยื่อบางๆรอบปากช่องคลอดเว้นเป็นช่องตรงกลางเข้าไปเป็นช่องคลอดเยื่อบางๆนี้เรียกว่าเยื่อพรหมจารีมักจะฉีกขาดได้ง่ายเมื่อเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเยื่อนี้ก็จะฉีกขาดไปเองซึ่งไม่มีอันตรายแต่ประการใดสมัยก่อนผู้หญิงไม่ค่อยมีกิจกรรมโลดโผนเหมือนสมัยนี้เยื่อพรหมจารีจึงอาจไม่ขาดเวลามีเพศสัมพันธ์กันครั้งแรกอวัยวะเพศชายจะต้องผ่านเยื่อนี้เข้าไปทำให้เยื่อนี้ฉีกขาดมีอาการเจ็บปวดและเลือดออกเล็กน้อยจึงได้ชื่อว่าเป็นเยื่อพรหมจารีคือเยื่อที่แสดงว่าหญิงนั้นไม่เคยผ่านการร่วมเพศมาเลยนั่นเองแต่ในปัจจุบันนี้พบว่าถึงยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์เยื่อพรหมจารีก็ฉีกขาดไปโดยธรรมชาติอยู่แล้วการไม่มีเยื่อพรหมจารีจึงไม่ใช่เครื่องพิสูจน์ว่าหญิงนั้นเคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว
การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองก็จะทำให้เยื่อพรหมจารีฉีกขาดได้เช่นกันช่องคลอดที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์หลายๆครั้งจะเกิดการยืดหยุ่นได้มากกว่าเดิมและถ้ามีการคลอดบุตรเด็กจะคลอดออกจากมดลูกผ่านช่องคลอดนี้ออกมาช่องคลอดจึงยืดหยุ่นได้มากๆหลังคลอดแล้วมักจะไม่เล็กไม่กระชับเหมือนเดิม
มดลูกเป็นอวัยวะเพศที่เป็นโพรงมีผนังเป็นกล้ามเนื้อหนาขนาดและลักษณะคล้ายลูกชมพู่ขนาดใหญ่โพรงมดลูกจะติดต่อกับช่องคลอดตรงปากมดลูกที่ด้านข้างของมดลูกจะมีท่อมดลูกไปโผล่บริเวณใกล้ๆรังไข่เมื่อไข่สุกออกมาจากรังไข่จะเคลื่อนที่ผ่านท่อมดลูกเพื่อรอรับการผสมกับตัวอสุจิภาวะเช่นนี้เรียกว่าการตกไข่ซึ่งจะเกิดขึ้นเดือนละครั้งในเวลาช่วงกลางระหว่างการมีประจำเดือนทุกเดือน
ถ้าไข่ได้มีการผสมกับตัวอสุจิจะกลายเป็นตัวอ่อนเคลื่อนตัวมาฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกเยื่อบุนี้จะเตรียมพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนเช่นนี้ทุกเดือนเดือนใดที่ไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อนเยื่อบุที่เตรียมพร้อมนี้ก็จะหลุดลอกออกมาพร้อมกับมีเลือดออกจำนวนหนึ่งเรียกว่า“ประจำเดือน”นั่นเองวัยรุ่นที่มีประจำเดือนทุกเดือนแสดงถึงความเตรียมพร้อมของร่างกายที่จะมีการสืบพันธุ์และมีบุตรถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาใกล้ๆเวลาตกไข่ตัวอสุจิจะมีโอกาสผสมกับไข่มากโอกาสเกิดการปฏิสนธิจะมีสูงเมื่อตัวอ่อนที่ปฏิสนธิแล้วมาฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกมดลูกจะเปลี่ยนแปลงโดยโตขึ้นมีการสร้างหลอดเลือดเพื่อหล่อเลี้ยงตัวอ่อนและจะไม่มีการหลุดลอกของเยื่อบุมดลูกอีกเกิดภาวะ“ตั้งครรภ์”คือประจำเดือนไม่มามดลูกโตขึ้นอย่างรวดเร็วฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปสามารถตรวจวัดระดับฮอร์โมนที่เกิดในขณะตั้งครรภ์ได้โดยการตรวจปัสสาวะ
คงรู้สึกกระจ่างขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในวัยนี้การมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับร่างกายจะช่วยให้สามารถเข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อตัวเองเมื่อมีครอบครัวและมีบุตรพฤติกรรมทางเพศที่เป็นปกติโดยธรรมชาติเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้และใช้ให้เป็นปกติโดยธรรมชาติเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้และใช้ให้เป็นประโยชน์กับตนเองอีกทั้งยังช่วยป้องกันปัญหาทางเพศที่อาจเกิดขึ้นได้

การตั้งครรภ์ (pregnancy) การปฏิสนธิ (Fertilization)
ความสามารถของเซลล์ไข่ในการปฏิสนธิกับเชื้ออสุจิ อยู่ได้นานประมาณ 15-18 ชม . หลังจากการตกไข่ถ้าเซลล์ไข่ไม่ได้รับการผสมก็จะสลายตัวไป ส่วนเชื้ออสุจิมีชีวิตอยู่ในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงได้นานประมาณ48 ชม . การปฏิสนธิระหว่างเชื้ออสุจิและเซลล์ไข่เกิดขึ้นในท่อนำไข่ ไกลโคเจนที่สะสมในชั้นเยื่อบุของช่องคลอดถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลกติก ภาวะ
กรด ที่เพิ่มขึ้นทำให้เชื้ออสุจิเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น เอสโทรเจนมีลให้มดลูกบีบตัวช่วยพาเชื้ออสุจิไปยังท่อนำไข่
ส่วนเซลล์ไข่จะถูกปัดเข้าไปในท่อนำไข่โดยฟิมเปรีย เมื่อเชื้ออสุจิสัมผัสกับเซลล์ไข่แคลเซียมจากภายนอกเคลื่อนผ่านช่องแคลเซียมเข้าสู่ภายในหัวของเชื้ออสุจิ การเพิ่มของแคลเซียมจะกระตุ้นให้เชื้ออสุจิปล่อยเอนไซม์อะโครซิน และเจาะผ่านชั้นโซนาเพลลูซิดา ทันทีที่เยื่อหุ้มไข่และเยื่อหุ้มเชื้ออสุจิรวมตัวกัน ภายในเซลล์ไข่เริ่มการแบ่งตัวแบบไมโอซิสครั้งที่ 2 ต่อ ได้เป็นเซลล์ไข่ที่มีโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อโปรนิวเคลียสทั้งสองชนิดรวมตัวกันได้ตัวอ่อนที่มี 46 โครโมโซม ตัวอ่อนแบ่งตัวให้กลุ่มเซลล์ (morula) ขณะเดินทางมายังมดลูกหลังจากปฏิสนธิได้ 6 วันตัวอ่อนจะะแบ่งเซลล์ได้ประมาณ 64 เซลล์
จากนั้นพัฒนาเป็นขั้นบลาสโทซิสต์ ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ชั้นในซึ่งจะเจริญไปเป็นทารก เซลล์ชั้นนอกเรียกว่า โทรโฟบลาสต์ การฝังตัวของตัวอ่อน บลาสโทซิสต์จะลอยอยู่ในของเหลวในโพรงมดลูกอยู่ประมาณ 1 วันก่อนที่จะฝังตัวในผนังมดลูกในวันที่ 7 หลังการปฏิสนธิ
เมื่อบลาสโทรซิสต์ฝังตัวเซลล์โทรโฟบลาสต์จะพัฒนาเป็น 2 ชั้น เซลล์ชั้นในที่หุ้มตัวอ่อนเรียกว่าไซโทโทรโฟบลาสต์ ส่วนชั้นนอกเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ซินซิทิโอโทรโฟบลาสต์ เซลล์โทรโฟบลาสต์เปลี่ยนแปลงเป็นส่วนหนึ่งของรก เมื่อรกเจริญเติบโตจะทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหาร ออกซิเจน และของเสยต่างๆ ระหว่างระบบไหลเวียนของแม่และลูก

ฮอร์โมนจากรก
ขณะตั้งครรภ์รกจะสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์หลายตัวจากชั้นเซลล์ซินซิทิโอโทรโฟบลาสต์
ก . โกนาโดโทรฟินจากรก
สามารถวัด HCG ในปัสสาวะของมารดาได้ตั้งแต่วันที่ 9 ของการตั้งครรภ์และระดับจะสูงขึ้นระหว่างสัปดาห์ที่ 9-12 หลังจากนั้นจะลดลง การตรวจพบ HCG ในปัสสาวะหรือเลือดใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงการตั้งครรภ์ HCG ทำหน้าที่ยืดอายุการทำงานของคอร์ปัสลูเทียม กระตุ้นการสร้างและหลั่งฮอร์โมนณัแลกซินเพื่อยับยั้งการหดตัวของมดลูก
ข . Human chorionic somatomammotropin (HCS)
เป็นฮอร์โมนชนิดเปปไทด์ประกอบด้วยกรดอะมิโน 191 หน่วย มีโครงร้างเหมือนฮอร์โมน โซมาโทโทรฟินหรือโกรทฮอร์โมน และโพรแลกทิน แต่มีผลแบบโพรแลกทินสูงกว่าโกรทฮอร์โมน ขณะที่ระดับ HCG ลดต่ำลงหลังจาก 3 เดือนของการตั้งครรภ์ รกจะสร้าง HCS ในสัปดาห์ที่ 4 และจะเพิ่มระดับขึ้น เรื่อยๆ จนถึงระดับสูงสุดเมื่อใกล้คลอด
ค . โพรเจสเทอโรน
รกจะเริ่มสร้างโพรเจสเทอโรนในสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ถึงระดับสูงสุดเมื่อใกล้คลอด โพรเจสเทอโรนถูกขับทิ้งทางปัสสาวะ โพรเจสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่สำคัญสำหรับการตั้งครรภ์โดยเตรียมเยื่อบุมดลูกเพื่อรับตัวอ่อน ทำงานร่วมกับฮอร์โมนรีแลกซิน ลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของแม่ไม่ให้ต่อต้านการมีทารกซึ่งเปรียบเสมือนเซลล์แปลกปลอมในร่างกายของแม่
ง . เอสโทรเจน
รกสร้างเอสโทรเจนได้ทั้งเอสทราไดออล เอสโทรนและเอสไทรออล แต่สร้างเอสไทรออลได้มากกว่าฮอร์โมนอีก 2 ชนิดและมีระดับเพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์คือช่วยในการพัฒนาเต้านมและทำให้กล้ามเนื้อมดลูกมีขนาดโตขึ้น ทำให้เอ็นยึดต่างๆในอุ้งเชิงกราน และ
กระดูก หังหน่าว ช่วยให้บริเวณช่องคลอดขยายออกได้กว้างขึ้น

ระบบกล้ามเนื้อ

ความสำคัญพิเศษของกล้ามเนื้ออยู่ที่การหดตัวทำให้เกิดการเคลื่อนไหว จากการกระพือปีกของแมลง ๑,๐๐๐ ครั้งใน ๑ วินาที จนถึงการหดตัวนาน ๕ นาทีของอะนีโมนทะเล (seaanemone) ทำให้เห็นความแตกต่างในอัตราความเร็วอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพภายในของกล้ามเนื้อ และความแตกต่างกันระหว่างกล้ามเนื้อต่างๆ ภายในร่างกาย

ชนิดของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อภายในร่างกายแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ
๑.
กล้ามเนื้อลาย หรือ กล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ
๒.
กล้ามเนื้อเรียบหรือกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ
๓.
กล้ามเนื้อหัวใจ
1. กล้ามเนื้อลาย (Striated Muscles)

กล้ามเนื้อลาย หรือ กล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ เป็นกล้ามเนื้อทั่วๆไป หรือกล้ามเนื้อแดงของร่างกาย กล้ามเนื้อนี้มีประมาณ ๔๐% ของร่างกาย และอยู่ในอำนาจจิตใจภายใต้การควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ลักษณะของกล้ามเนื้อพวกนี้ประกอบด้วยเซลล์ยาว ซึ่งอาจเรียกว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ ขนาดตั้งแต่ ๐.๑ ถึง ๐.๐๑ มิลลิเมตรและยาวตั้งแต่ ๓ มิลลิเมตร ถึง ๓๐ มิลลิเมตร มีนิวเคลียสจำนวนมากอยู่ที่ขอบของเซลล์ มีลายตามขวาง สีเข้มและสีจางสลับกัน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อย้อมด้วยสี คนที่ออกกำลังเสมอเส้นใยกล้ามเนื้อจะโตขึ้น และหนาขึ้น แต่จำนวนไม่เพิ่มขึ้น
กล้ามเนื้อมีประสาทยนต์มาทำให้กล้ามเนื้อหดตัวและมีประสาทรับความรู้สึกจากกล้ามเนื้อหรือเอ็นไปสู่สมองเพื่อให้รู้ว่า กล้ามเนื้อหดตัวมากน้อยเพียงใด
เซลล์หรือเส้นใยกล้ามเนื้อรวมกันเข้า โตขึ้นเป็นมัดกล้ามเนื้อ ซึ่งมีที่เกาะอย่างน้อยสองแห่ง โดยทอดข้ามข้อต่อเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวดึงกระดูกสองชิ้นนั้นเข้าหากัน จึงเคลื่อนไหวได้ที่ข้อต่อ
บางแห่งกล้ามเนื้อเกาะจากกระดูกไปติดที่ผิวหนัง เมื่อกล้ามเนื้อหดตัว จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะของผิวหนัง หรือทำให้ผิวหนังเป็นรอยย่นขึ้นได้ เช่น กล้ามเนื้อที่ใบหน้า (จึงแสดงอารมณ์ได้)
มัดกล้ามเนื้อที่ยาวๆ มักจะเป็นเอ็นยาว (tendon) ต่อจากปลายของกล้ามเนื้อไปติดที่กระดูก เพื่อให้เคลื่อนไหวได้มากขึ้น ถ้ามัดกล้ามเนื้อมีลักษณะแบนบาง มักจะเป็นเอ็นแผ่(aponeurosis) ต่อจากกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อหดตัวได้เต็มที่ได้ประมาณ ๕๕% ของความยาวของส่วนกล้ามเนื้อนั้น ความแรงของการหดตัวจึงขึ้นอยู่กับความยาว ขนาด และจำพวกของเส้นใยกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อลายมีหน้าที่เคลื่อนไหวร่างกายที่ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวลูกตา ช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เคลื่อนไหวลิ้น เคลื่อนไหวใบหน้าแสดงอารมณ์ต่างๆ และยังประกอบเป็นผนังอก และผนังท้อง ตลอดจนการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscles)

เป็นกล้ามเนื้อที่บุอยู่ที่อวัยวะต่างๆภายในของร่างกายมีหน้าที่ ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหาร และอวัยวะภายใน ต่างๆ เช่น ลำไส้ กระเพาะอาหาร อวัยวะสืบพันธุ์ มดลูก เส้นเลือดดำ ฯลฯ ซึ่งอยู่นอกอำนาจของจิตใจ แต่อยู่ภายใต้ การควบคุมของระบบประสาทอิสระ (Autonomie Nervous System)มีลักษณะเป็นเซลล์รูปกระสวย มีนิวเคลียสรูปไข่อยู่ตรงกลาง
3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscles)

กล้ามเนื้อหัวใจ ประกอบเป็นกล้ามเนื้อหัวใจเพียงแห่งเดียวอยู่นอกอำนาจจิตใจ มีลักษณะเป็นเซลล์รูปทรงกระบอกมีลายตามขวางเป็นแถบสีทึบสลับกับสีจาง เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีแขนงไปประสานกับแขนงของเซลล์ใกล้เคียง เซลล์ทั้งหมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวิต ควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ

ระบบโครงกระดูก

กระดูกในร่างกายของคนที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีจำนวน 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามตำแหน่งที่อยู่ คือ
1. กระดูกแกน (axial skeleton ) เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณกลางลำตัว มีทั้งหมด 80 ชิ้น ประกอบด้วย
- กระดูกกะโหลกศีรษะ 29 ชิ้น
- กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น ( ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีแผ่นกระดูกอ่อนที่เรียกว่า หมอนรองกระดูก ทำหน้าที่รอง
รับและเชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อเพื่อป้องกันการเสียดสีในขณะเคลื่อนไหว )
- กระดูกซี่โครง 24 ชิ้น ( ทั้งหมด 12 คู่ คู่ที่ 11 และ 12 เป็นซี่สั้นๆไม่เชื่อมต่อกับกระดูกหน้าอก เรียกว่า ซี่โครงลอย )
- กระดูกหน้าอก 1 ชิ้น
2. กระดูกรยางค์( appendicular skeleton ) เป็นกระดูกที่ยื่นจากกระดูกแกนออกไป มีทั้งหมด 126 ชิ้น
ประกอบด้วย
- กระดูกแขนข้างละ 30 ชิ้น
- กระดูกขาข้างละ 30 ชิ้น
- กระดูกสะบักข้างละ 1 ชิ้น
- กระดูกเชิงกรานข้างละ 1 ชิ้น
- กระดูกไหปลาร้าข้างละ 1 ชิ้น


ระบบโครงกระดูกของมนุษย์
ระบบโครงกระดูกของมนุษย์ (skeletal system) มีวิวัฒนาการมาอย่างสลับซับซ้อน แต่หลักฐานจากการศึกษากายวิภาคเปรียบเทียบ พบว่าสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทั้งหมดล้วนมีพัฒนาการของระบบโครงกระดูกที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เป็นตัวอ่อนหรือเอ็มบริโอ เมื่อแรกคลอดทารกมีกระดูกทั้งหมดประมาณ 350 ชิ้น หลังจากนั้นจะเริ่มมีการเชื่อมติดกันของกระดูกบางชิ้น จนกระทั่งเมื่อเจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ร่างกายมนุษย์จะมีกระดูกรวมกันทั้งสิ้น 206 ชิ้น
ในบรรดากระดูกทั้งหมด 206 ชึ้น พบว่าเป็นส่วนกะโหลกศีรษะ 21 ชิ้น (รวมกระดูกขากรรไกรบนด้วย) กระดูกฆ้อน-ทั่ง-โกลนในหูชั้นกลางสองข้างรวม 6 ชิ้น กระดูกขากรรไกรล่าง 1 ชิ้น กระดูกไฮออยด์อยู่ทางด้านหน้าของคอ 1 ชิ้น กระดูกสันหลังตลอดทั้งแนวรวมทั้งสิ้น 26 ชิ้น กระดูกซี่โครงสองข้างรวมกัน 24 ชิ้น กระดูกอก 1 ชิ้น กระดูกของทั้งสองแขนรวมกัน 64 ชิ้น และกระดูกของทั้งสองขารวมกัน 62 ชิ้น กระดูกทั้งหมดจัดเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือเป็นกระดูกแกนกลางของร่างกาย เรียกว่า axial joints ได้แก่ กระโหลกศีรษะ กระดูกไฮออยด์ กระดูกอก กระดูกซี่โครง และกระดูกสันหลัง เป็นต้น ส่วนกระดูกแขน-ขา กระดูกของข้อไหล่ และกระดูกเชิงกรานจัดเป็นส่วนรยางค์หรือนิยมเรียกว่า peripheral (appendicular) joints
กระดูกต้นขาเป็นกระดูกที่ยาวที่สุดในร่างกาย มีความยาวประมาณหนึ่งในสี่ของความสูงทั้งหมด กระดูกของแขน-ขา เช่น ต้นแขน ต้นขา หน้าแข้ง ท่อนแขน จัดเป็นกระดูกที่มีความยาวมากกว่าความกว้าง เรียกว่ากระดูกชนิดยาวหรือ long bones ส่วนกระดูกข้อมือ-ข้อเท้าเป็นตัวอย่างของกระดูกชนิดสั้นที่เรียกว่า short bones ลักษณะทั่วไปเป็นรูปลูกบาศก์ มือซ้ายและมือขวามีกระดูกชนิดสั้นข้างละ 27 ชิ้น กระดูกที่สั้นที่สุดในร่างกายคือ stirrup bone กระดูกรูปโกลนในหูชั้นกลาง กระดูกรูปโกลนเป็นกระดูกชนิดสั้นซึ่งมีความยาวเพียง 1/10 นิ้ว สำหรับกระดูกชิ้นที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายคือกระดูกเชิงกราน กระดูกที่มีรูปร่างลักษณะแบนเรียกว่า flat bones ได้แก่ กระดูกซี่โครง กระดูกข้อไหล่ และกระดูกภายในกระโหลกศีรษะ กระดูกส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นใบหน้ามีทั้งหมด 14 ชิ้น กระดูกสันหลังและกะโหลกศีรษะบางส่วนจัดเป็นชนิดรูปร่างไม่แน่นอน (irregular bones)
ระบบโครงกระดูกประกอบด้วยกระดูก กระดูกอ่อน ข้อต่อ และเอ็นยึดระหว่างกระดูก โดยกระดูกเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืดต่างๆ อวัยวะที่สำคัญ ๆ ของร่างกายล้วนอยู่ภายในโครงกระดูกทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่ออวัยวะสำคัญเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น กะโหลกศีรษะเป็นเหมือนหมวกเหล็กครอบเนื้อสมอง กระดูกสันหลังล้อมรอบไขสันหลังซึ่งเป็นศูนย์รวมประสาทส่วนกลางที่สำคัญ ส่วนกระดูกอกและกระดูกซี่โครงเปรียบเสมือนกรงเหล็กป้องกันอันตรายต่อหัวใจและปอดซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญและจัดได้ว่าค่อนข้างเปราะบาง
ในแง่ของส่วนประกอบพื้นฐาน พบว่าโครงสร้างภายในของกระดูกทั้งหมดในร่างกายแตกต่างกันได้สองชนิด กระดูกที่มีลักษณะเนื้อแน่นเรียกว่า compact bone หรือ dense bone ส่วนกระดูกที่มีลักษณะพรุนเรียกว่า spongy bone หรือ cancellous bone ในกระดูกชิ้นเดียวกันอาจมีทั้งสองส่วนประกอบก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นกระดูกต้นแขน บริเวณหัวของกระดูกต้นแขนจัดเป็น spongy bone ในขณะที่ส่วนกลางของกระดูกต้นแขนจัดเป็น compact bone กระดูกส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างภายในทั้งสองชนิดในเนื้อกระดูกชิ้นเดียวกัน โดยส่วนของเซลล์กระดูกที่มีแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสจะเป็นส่วนเสริมความแข็งแรงของเนื้อกระดูก และในส่วนเซลล์ที่เป็นเส้นใยคอลลาเจนจะทำหน้าที่ช่วยเสริมให้เนื้อกระดูกเกิดความยืดหยุ่นตามสมควร

ระบบประสาท

ในสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ จำเป็นจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือมีปฏิกิริยาต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ระบบที่ทำหน้าที่เหล่านี้ก็คือระบบประสาท ซึ่งมีองค์ประกอบอยู่หลายส่วน เช่นในระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) จะมีหลายๆ path way มารวมกันกลายเป็น Functional unit แต่ละ Functional unit อาจจะมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึง หรือแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นกับว่า แต่ละ unit นั้นทำหน้าที่อะไร

ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervoussystem หรือ CNS) ประกอบด้วยสมองและ
ไขสันหลัง
2. ระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก ( peripheral nervous system หรือ PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง (cranial nerve) และเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) และระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) ระบบประสาทรอบนอกหรือระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทรอบนอกประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกทั้งหมด เส้นประสาทที่ติดต่อระหว่างหน่วยรับความรู้สึกกับระบบประสาทส่วนกลาง และเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับหน่วยปฎิบัติงาน
ระบบประสาทใต้อำนาจจิตใจ (voluntary nervous system) หรือ ระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย
ระบบประสาทอัตโนมัติ (Involuntary nervous system หรือ Autononic nervous system) หรือ ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบระบบประสาทอัตโนมัติประกอบด้วยระบบซิมพาเทติก (sympathetic system) และระบบพาราซิมพาเทติก (parasympathetic system)

ศูนย์ควบคุมระบบประสาท
สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. สมองส่วนหน้า (forebrain หรือ prosencepphalon) ประกอบด้วยเทเลนเซฟาลอน (telencephalo)และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่ (cerebrum) ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโพทาลามัส (hypothalamus)ทาลามัส (thalamus)
2. สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการมองเห็น (visual reflex) และรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการได้ยิน (auditory reflex) ประกอบด้วยเซรีบรัมพีดังเคิล (cerebralpeduncle) และคอร์พอราควอไดร์เจอมินาร์ (corpora quadrigermina) ซึ่งแบ่งออกเป็น คอลิคูไลด์ (superior colliculi) 2 พู ( lob) และอินฟีเรียคอลิคูไลด์ (inferior colliculi) 2 พู
3. สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongate) เซรีเบลลัม (cerebellum) และ พอนส์ (pons)

สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง)
Gray matter เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและ axon ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
White matter เป็นที่อยู่ของ axon ที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
เยื่อหุ้มสมอง (Menirges) 3 ชั้น คือ
ชั้นนอก (Pura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
ชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ
ชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่าง
ชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจำทำหน้าที่ให้สมองแลไขสันหลังเปียกชื้ออยู่เสมอ
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ
White matter เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
Gray matter เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง

โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
ปีกบน (dorsal horn) เป็นบริเวณรับความรู้สึก
ปีกล่าง (ventral horn) เป็นบริเวณนำคำสั่ง
ปีกข้าง (lateral horn) เป็นบริเวณระบบประสาทอัตโนวัติ Note
เซลล์ประสาท ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท
ตัวเซลล์ (cell body หรือ soma)มีส่วนประกอบเหมือนเซลล์ทั่วๆไป เช่น นิวเคลียส ไมโตคอนเดีย
ใยประสาท (nerve fiber) คือส่วนของโปรโตพลาสซึมของเซลล์ที่ยื่นออกไปมี 2 ชนิดคือ

คำจำกัดความ ( Definition ) เกี่ยวกับระบบประสาท
neuron ( nerve cell ) หมายถึง เซลล์ประสาท ซึ่ง ประกอบด้วย cell body และแขนง คือ dendrite และ axon
axon หมายถึง แขนงของเซลล์ประสาท ซึ่งมีหน้าที่นำสัญญาณ หรือกระแสประสาท ( nerve impulse ) ออกจาก cell body ของเซลล์ประสาทนั้น
dendrite หมายถึง แขนงของเซลล์ประสาท ซึ่งมีหน้าที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาท ( nerve impulse ) เข้าสู่ cell body ของเซลล์ประสาทนั้น
afferent หมายถึง การนำเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น afferent nerve fiber หมายถึง เส้นใยประสาทซึ่งทำหน้า ที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาท จากอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
efferent หมายถึง การนำออกจากระบบประสาทส่วนกลาง เช่น efferent nerve fiber หมายถึงเส้นใยประสาท ซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาทส่วนกลาง ออกไปยังอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆ
bundle หมายถึง ใยประสาท ( nerve fibers ) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันเป็นกลุ่มของเส้นใยประสาท ของระบบ ประสาทส่วนกลาง
column หมายถึง ส่วนของระบบประสาทส่วนกลางที่เป็นแท่งหรือเป็นลำ
nerve หมายถึง เส้นประสาทที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น vagus nerve เส้นประสาทนี้เกิดจากกลุ่มของเส้นใยประสาทมารวมตัวกันเป็นมัดหรือแท่ง
ganglia หมายถึง กลุ่มของเซลล์ประสาท ( neurons ) ซึ่งอยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง
nucleus หมายถึง กลุ่มของเซลล์ประสาท ( neurons ) ซึ่งอยู่ภายในระบบประสาทส่วนกลาง
commissure หมายถึง ส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างโครงสร้างแบบเดียวกันซีกซ้ายและซีกขวา
peduncle หมายถึง ส่วนที่มีลักษณะเป็นก้านหรือขั้ว ทำหน้าที่เชื่อมส่วนต่างๆของสมอง
motor nerve fiber หมายถึง เส้นใยประสาทที่ทำหน้าที่นำสัญญาณหรือกระแสประสาทจากระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อไปกระตุ้น effector หรือ target organ
sensory nerve fiber หมายถึง เส้นใยประสาทซึ่งทำหน้าที่นำสัญญาณสัญญาณหรือกระแสประสาท จาก receptors เข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง

tract หมายถึง กลุ่มของเส้นใยประสาทในระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีเซลล์ประสาทต้นกำเนิด,ทางเดิน,ที่สิ้นสุด และทำหน้าที่อย่างเดียวกัน

ระบบขับถ่าย

การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกาย และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย ไต ตับ และลำไส้ เป็นต้น

ไต มีหน้าที่ขับสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้ออกจากร่างกาย อยู่ด้านหลังของช่องท้อง ลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยของระบบย่อยอาหารออกมาเป็นอุจจาระ โครงสร้างของระบบขับถ่าย ไตเป็นอวัยวะที่กรองของเสียเพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ไตของคนมี 1 คู่ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ก่อนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง

การดูแลรักษาระบบขับถ่าย

เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และรับประทานอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย คือ อาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และควรดื่มน้ำให้มาก การกำจัดของเสียออกทางไต

ไต เป็นอวัยวะที่ลักษณะคล้ายถั่ว มีขนาดประมาณ 10 กว้าง 6 เซนติเมตร และหนาประมาณ 3 เซนติเมตร มีสีแดงแกมน้ำตาลมีเยื่อหุ้มบางๆ ไตมี 2 ข้างซ้ายและขวา บริเวณด้านหลังของช่องท้อง ใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว บริเวณส่วนที่เว้า เป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังมีกระเพาะปัสสาวะ

โครงสร้างไต ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น หน่วยไต ชั้นนอก เรียกว่า คอร์ดเทกซ์ ชั้นในเรียกว่าเมดัลลา ภายในไตประกอบด้วย หน่วยไต มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่หลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกอยู่เต็มไปหมด ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก วันหนึ่งๆ เลือดที่หมุนเวียนในร่างกายต้องผ่านมายังไต ประมาณในแต่ละนาทีจะมีเลือดมายังไตที่ 1200 มิลลิลิตร หรือวันละ 180 ลิตร ไตจะขับของเสียมาในรูปของน้ำปัสสาวะ แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ร่างกายจะรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะไหลสู่กระเพาะปัสสาวะประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใน 1 วัน คนเราจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1 – 1.5 ลิตร

การกำจัดของเสียออกทางผิวหนัง ในรูปของเหงื่อ เหงื่อประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนัง โดยผ่านต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง ต่อมเหงื่อมี 2 ชนิด คือ

1. ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ทั่วผิวหนังในร่างกาย ยกเว้นท่าริมฝีปากและอวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมเหงื่อขนาดเล็กมีการขับเหงื่อออกมาตลอดเวลา เหงื่อที่ออกจากต่อมขนาดเล็กนี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 99 สารอื่นๆ ร้อยละ 1 ได้แก่ เกลือโซเดียม และยูเรีย

2. ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ จะอยู่ที่บริเวณ รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอก อวัยวะเพศบางส่วน ต่อมนี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรกต่อมนี้จะตอบสนองทางจิตใจ สารที่ขับถ่ายมักมีกลิ่น ซึ่งก็คือกลิ่นตัวเหงื่อ จะถูกลำเลียงไปตามท่อที่เปิดอยู่ ที่เรียกว่า รูเหงื่อ
การกำจัดของเสียออกทางลำไส้ใหญ่

กากอาหารที่เหลือกจากการย่อย จะถูกลำเลียงผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่ โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหารและจะดูดซึม สารอาหารที่มีประโยชน์ ต่อร่างกายได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคส ออกจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารเหนียวและข้นจนเป็นก้อนแข็ง จากนั้นลำไส้จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ตรง และขับถ่ายสู่ภายนอกร่างกายทางทวารหนัก ที่เรียกว่า อุจจาระ การกำจัดของเสียทางปอด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซและน้ำซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์จะถูกส่งเข้าสู่เลือด จากนั้นหัวใจจะสูบเลือดที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปไว้ที่ปอด จากนั้นปอดจะทำการกรองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ แล้วขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก ประโยชน์ของการขับถ่ายของเสียต่อสุขภาพ

การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียร่างกายและช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอบด้วย ไต ตับและลำไส้ เป็นต้น การปฏิบัติตนในการขับถ่ายของเสียให้เป็นปกติหรือกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เราไม่ควรให้ร่างกายเกิดอาการท้องผูกเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคริดสีดวงทวารหนักได้

การปัสสาวะ ถือเป็นการขับถ่ายของเสียประการหนึ่ง ที่ร่างกายเราขับเอาน้ำเสียในร่างกายออกมาหากไม่ขับถ่ายออกมาหรือกลั้นปัสสาวะไว้นานๆ จะทำให้เกิดเป็นโรคนิ่วในไตหรือทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบได้ การดื่มน้ำ การรับประทานผักผลไม้ทุกวัน จะช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้สะดวกขึ้น การดื่มน้ำและรับประทานทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเป็นประจำจะทำให้ร่างกายขับถ่ายของเสียอย่างปกติ

ระบบหายใจ

ระบบหายใจ
มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
1.จมูก (Nose)
จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่าง
ตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูกอีกด้านหนึ่ง ของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรูจมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย
2. หลอดคอ (Pharynx)
เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือ กระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
3. หลอดเสียง (Larynx)
เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
4. หลอดลม (Trachea)
เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วย กระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมี
เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน
การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์
5. ปอด (Lung)
ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน
หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ
6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด

กระบวนการในการหายใจ
ในการหายใจนั้นมีโครง
กระดูกส่วนอกและ กล้ามเนื้อบริเวณอกเป็นตัวช่วยขณะหายใจเข้า กล้าม เนื้อหลายมัดหดตัวทำให้ทรวงอกขยายออกไปข้างหน้า และยกขึ้นบน ในเวลาเดียวกันกะบังลมจะลดต่ำลง การกระทำทั้งสองอย่างนี้ทำให้โพรงของทรวงอกขยาย ใหญ่มากขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อหยุดทำงานและหย่อนตัวลง ทรวงอกยุบลงและความดันในช่องท้องจะดันกะบังลม กลับขึ้นมาอยู่ในลักษณะเดิม กระบวนการเข่นนี้ทำให้ ความดันในปอดเพิ่มขึ้น เมื่อความดันในปอดเพิ่มขึ้นสูง กว่าความดันของบรรยากาศ อากาศจะถูกดันออกจาก ปอด
ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ปัจจัยประการแรกที่ทำให้ อากาศมีการเคลื่อนไหวเข้าออกจากปอดได้นั้น เกิด จากความดันที่แตกต่างกันนั่นเอง

การแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน
เมื่อเราหายใจเข้า อากาศภายนอกเข้าสู่อวัยวะ ของระบบหายใจไปยังถุงลมในปอด ที่ผนังของถุงลมมีหลอดเลือดแดงฝอยติดอยู่ ดังนั้นอากาศจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับ
เม็ดเลือดแดงมากออกชิเจนก็จะผ่านผนังนี้เข้าสู่เม็ดเลือดแดง และคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะออกจากเม็ดเลือดผ่านผนังออกมาสู่ถุงลม ปกติในอากาศมีออกชิเจนร้อยละ 20 แต่อากาศที่เราหายใจมีออกซิเจนร้อยละ 13

จะเห็นว่าการหายใจเป็นกลไกที่ทำให้เราแลกเปลี่ยนอากาศกับสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกายถ้าอากาศที่ได้รับ มีคุณภาพดี เราก็จะเผาผลาญอาหารได้ดี ทำให้เกิดของเสียในร่างกายได้น้อย แต่ในความเป็นจริงมลภาวะต่างๆปะปนอยู่ในอากาศมากมาย เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอากาศเหล่านี้ได้ในเร็ววัน หากต้องการอากาศบริสุทธิ์ ก็คงต้องย้ายไปอยู่ในป่าหรือตามชนบทที่ห่างไกลจากมลภาวะ แต่สิ่งที่เราปรับปรุงได้ก็คือการเลือกใช้เชื้อเพลิง หรืออาหารที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ร่างกายเราสัมผัสกับของเสียที่เราผลิตออกมาน้อยที่สุด และมีชีวิตอยู่ได้อย่างยืนยาว

ระบบหมุนเวียนของโลหิต

ระบบไหลเวียนโลหิต เป็นระบบที่นำสารเข้าและออกจากเซลล์ สามารถช่วยในการรักษาระดับอุณหภูมิ ความเป็นกรด-เบส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาดุลยภาพของร่างกาย ระบบไหลเวียนโลหิตในสิ่งมีชีวิตแบ่งได้เป็น 3 ประเภท เรียงตามลำดับจากเรียบง่ายไปจนถึงซับซ้อนที่สุดดังนี้ ส่วนประกอบสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิต: หัวใจ,เลือด,และเส้นเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตยังรวมไปถึง pulmonary circulation คือ ระหว่างหัวใจและปอด และ systemic circulation คือระหว่างหัวใจและร่างกาย

หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายโดยผ่านเส้นเลือด หัวใจของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ซีกคือ atrium 2ห้องที่อยู่ข้างบนและ ventricle 2ห้องที่อยู่ด้านข้าง right Atrium คือ ห้องขวาบนของเรา ทำหน้าที่รับเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจากเส้นเลือดvenacavaแล้วส่งต่อไปยัง ขวาล่างหรือ right ventricle ซึ่งห้องนี้จะส่งเลือดที่มี poor oxygen ไปยังปอดโดยการใช้เส้นเลือดpulmonary artery หลังจากนั้น left atrium หรือ ซ้ายบนที่เราเห็นจะรับออกซิเจนมาจากปอด ผ่านทางเส้นเลือด pulmonary vein แล้วส่งต่อไปยัง left ventricle คือซ้ายล่างที่จะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายโดยผ่านทางเส้นเลือดAorta

ในร่างกายมีเลือดอยู่ประมาณ 6000 ลบ.ซม. เลือดประกอบด้วย plasma,platelet,and blood cell plasma (Elekocyte) อยู่ในเลือดประมาณ 55 เปอร์เซ็น platelet ทำหน้าที่ช่วยให้แผลปิด blood cell ประกอบด้วย เลือดแดงและขาว(Leukocyte) เลือดแดงทำหน้าที่ส่งออกซิเจนโดยใช้สารชื่อฮีโมโกลบิน(Hemoglobin) ซึ่งมีธาตุFeเป็นองค์ประกอบ และมีรูปร่างลักษณะเว้าทั้งบนและล่าง และไม่มีนิวเคลียส(สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)เพื่อเพิ่มพื้นที่ผืวในการสัมผัสก๊าซออกซิเจน และในในก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(CO)นั้นสามารถที่จะถูกเม็ดเลือดแดงจับได้ดีกว่าก๊าซออกซิเจนถึง200-400เท่าโดยจะสร้างที่ไขกระดูก และทำลายที่ตับและม้ามหลังจากมีอายุได้120วัน เลือดขาวทำหน้าที่ เป็นภูมิคุ้มกันโดยสร้างที่ไขกระดูก,ม้าม,ต่อมน้ำเหลือง และทำลายที่ม้ามโดยมีอาย3-12วันและใช้วิธีการจับเชื้อโรคกินแบบPhagocytosis ซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น2ประเภท คือ 1. Agranulocyte โดยชนิดนี้จะไม่มีเม็ดกรานูล(granule) และมีนิวเคลีสใหญ่เต็มเซลล์ เช่น Phagocyte (monocyte,macrophage)และ Lymphocyte (สร้างภูมิคุ้มกัน)เช่น T-cellและ B-cell
2. Granulocyte ชนืดนี้มีเม็ดกรานูล มีนิวเคลียสเล็กๆ และลักษณะประหลาด ได้แก่Basophil,Neutrophil,Eosinophil

ตัวอย่างสัตว์ที่ไม่มีระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หนอนตัวแบน ไม่มีช่องว่างภายในลำตัว ตัวมีปากซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร ซึ่งแตกแขนงอย่างมาก ด้วยความแบนของตัว ทำให้อาหารที่ถูกย่อยเรียบร้อยแล้วสามารถแพร่เข้าสู่เซลล์อื่นๆ ได้อย่างทั่วถึงทุกเซลล์ นอกจากนี้ ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ออกซิเจนสามารถแพร่จากน้ำเข้าสู่เซลล์ได้ และเนื่องจากทุกเซลล์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จึงไม่ต้องอาศัยการลำเลียงน้ำและแก๊สออกซิเจน
ระบบการไหลเวียนแบบเปิด (open circulatory system) พบใน
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังโดยเฉพาะไฟลัมอาร์โทรโพดา และไฟลัมมอลลัสกา ระบบนี้เลือดจะไม่ได้อยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลา แต่จะออกจากเส้นเลือดเข้าสู่ช่องว่างภายในลำตัวที่เรียกว่าฮีโมซีล (hemocoel) อาจมีหัวใจหนึ่งดวงหรือมากกว่า ทิศทางการไหลของเลือดเริ่มจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเข้าสู่ฮีโมซีล เนื้อเยื่อและเซลล์จะได้รับอาหารและก๊าซจากเลือดที่อยู่ในช่องว่างนี้ เมื่อหัวใจคลายตัว เลือดส่วนหนึ่งจะไหลจากฮีโมซีลเข้าเส้นเลือดกลับหัวใจ

ระบบไหลเวียนโลหิตแบบปิด มีอวัยวะที่สำคัญในระบบ คือ หัวใจ เลือด และหลอดเลือด) พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด เช่น ไสัเดือนและหมึก เลือดไหลในเส้นเลือดตลอดเวลา ใช้แรงดันมากว่าการไหลเวียนระบบเปิด
สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีระบบไหลเวียนแบบนี้ นอกจากนี้ ไส้เดือนดินและหมึกก็ยังมีระบบไหลเวียนโลหิตแบบนี้อีกด้วย ระบบนี้ เลือดจะไม่ไหลออกไปนอกหลอดเลือด ซึ่งประกอบไปก้วย
อาเทอรี่ เวนและหลอดเลือดฝอย ระบบไหลเวียนโลหิตในปลาเป็นระบบไหลเวียนที่มีทิศทางเดียว คือหัวใจสูบฉีดเลือดไปที่เส้นเลือดฝอยที่เหงือก หัวใจปลามีสองห้องและการไหลเวียนของเลือดมีทิศทางเดียวสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานมีระบบนี้เช่นกัน แต่หัวใจของสัตว์สองชนิดนี้ทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยที่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้องส่วนนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีการแบ่งอยางชัดเจนระหว่างเลือดแดงกับเลือดดำ โดยแบ่งหัวใจออกเป็น 4 ห้อง หัวใจเต้น 72 ครั้งต่อนาที เลือด มีส่วนเป็นของเหลว 55% มีส่วนเป็นของที่ไม่เหลวอีก45%
ความดัน ความดันปกติของเพศชายคือ 120/80ม. ความดันปกติของเพศหญิงคือ 110/70ม. โรคความดันเกิดขึ้นกับคนอ้วนได้ง่าย

ระบบการย่อยอาหาร

อาหารประเภทต่างๆ ที่เราบริโภคโดยเฉพาะสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย คือ คาร์โบไฮเดรตโปรตีนและ ไขมัน ล้วนแต่มีโมเลกุลขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะลำเลียงเข้าสู่เซลล์ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ยกเว้นวิตามิน และแร่ธาตุซึ่งมีอนุภาคขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องมีอวัยวะและกลไกการทำงานต่างๆ ที่จะทำให้โมเลกุลของสารอาหารเหล่านั้นมีขนาดเล็กลงจนสามารถลำเลียงเข้าสู่เซลล์ได้ เรียกว่า “การย่อย”
การย่อยอาหาร หมายถึง การทำให้สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่กลายเป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กลงจนกระทั่งแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ การย่อยอาหารในร่างกายมี 2 วิธี คือ

1. การย่อยเชิงกล คือ การบดเคี้ยวอาหารโดยฟัน เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลทำให้สารอาหารมีขนาดเล็กลง

2. การย่อยเชิงเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของสารอาหารโดยใช้เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องทำให้โมเลกุลของสารอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้โมเลกุลที่มีขนาดเล็กลงอวัยวะในระบบย่อยอาหารของคน ระบบย่อยอาหารของคนประกอบด้วยอวัยวะดังต่อไปนี้

1. อวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ได้แก่

1.1 ตับ มีหน้าที่สร้างน้ำดีส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี

1.2 ตับอ่อน มีหน้าที่สร้างเอนไซม์ส่งไปย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก

1.3 ลำไส้เล็ก สร้างเอนไซม์มอลเทส ซูเครส และแล็กเทสย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก เอนไซม์ เป็นสารประกอบประเภทโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เร่งอัตราการเปิดปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกาย เอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสารอาหารเรียกว่า “น้ำย่อย” เอนไซม์มีสมบัติที่สำคัญ ดังนี้

- เป็นสารประเภทโปรตีนที่สร้างขึ้นจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

- ช่วงเร่งปฏิกิริยาในการย่อยอาหารให้เกิดเร็วขึ้นและเมื่อเร่งปฏิกิริยาแล้วยังคงมีสภาพเดิมสามารถใช้เร่งปฏิกิริยาโมเลกุลอื่นได้อีก

- มีความจำเพาะต่อสารที่เกิดปฏิกิริยาชนิดหนึ่งๆ

- เอนไซม์จะทำงานได้ดีเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ได้แก่
1. อุณหภูมิ เอนไซม์แต่ละชนิดทำงานได้ดีที่อุณหภูมิต่างกัน แต่เอนไซม์ในร่างกายทำงานได้ดีที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส

2. ความเป็นกรด – เบส เอนไซม์บางชนิดทำงานได้ดีเมื่อมีสภาพที่เป็นกรด เช่น เอนไซม์เพปซิน ในกระเพาะอาหาร เอนไซม์บางอย่างทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส เช่น เอนไซม์ในลำไส้เล็ก เป็นต้น

3. ความเข้ม เอนไซม์ที่มีความเข้มข้นมากจะทำงานได้ดีกว่าเอนไซม์ที่มีความเข้มข้นน้อย
การทำงานของเอนไซม์ จำแนกได้ดังนี้
1. เอนไซม์ในน้ำลาย ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบสเล็กน้อย เป็นกลาง หรือเป็นกรดเล็กน้อยจะขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำตาลและที่อุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 37 องศาเซลเซียส

2. เอนไซม์ ในกระเพาะอาหาร ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นกรด และ ที่อุณหภูมิปกติของร่างกาย

3. เอนไซม์ในลำไส้เล็ก ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบส และอุณหภูมิปกติของร่างกาย


2. อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร ทำหน้าที่ในการรับและส่งอาหาร โดยเริ่มจาก
ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก

เมื่อรับประทานอาหาร อาหารจะเคลื่อนที่ผ่านอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารเพื่อเกิดการย่อยตามลำดับดังต่อไปนี้

2.1 ปาก(mouth) มีการย่อยเชิงกล โดยการบดเคี้ยวของฟัน และมีการย่อยทางเคมี โดยเอนไซม์อะไมเลสหรือไทยาลีน ซึ่งทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบสเล็กน้อย


น้ำลายจากต่อมน้ำลายมี 3 คู่ ได้แก่ ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น 1 คู่ ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง 1 คู่ และ ต่อมน้ำลายใต้กกหู 1 คู่ ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายได้ประมาณวันละ 1 – 1.5 ลิตร

2.2 คอหอย(pharynx) เป็นทางผ่านของอาหาร ซึ่งไม่มีการย่อยใดๆ ทั้งสิ้น 2

.3 หลอดอาหาร(esophagus) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อเรียบ มีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารเป็นช่วงๆ เรียกว่า “เพอริสตัลซิส (peristalsis)” เพื่อให้อาหารเคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหาร
.4 กระเพาะอาหาร (stomach) มีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร และมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์เพปซิน(pepsin) ซึ่งจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรด โดยชั้นในสุดของกระเพาะจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยซึ่งมีเอนไซม์เพปซินและกรดไฮโดรคลอริกเป็นส่วนประกอบ เอนไซม์เพปซินจะย่อยโปรตีนให้เป็นเพปไทด์ (peptide)ในกระเพาะอาหารนี้ ยังมีเอนไซม์อยู่อีกชนิดหนึ่งชื่อว่า”เรนนิน”ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในน้ำนม ในขณะที่ไม่มีอาหาร กระเพาะอาหารจะมีขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อมีอาหารจะมีการขยายได้อีก 10 – 40 เท่า

โดยสรุปแล้วที่กระเพาะอาหารจะมีการย่อยโปรตีนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น 2.5 ลำไส้เล็ก(small intestine) เป็นบริเวณที่มีการย่อยและการดูดซึมเกิดขึ้นมากที่สุด โดยเอนไซม์ในลำไส้เล็กจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส ซึ่งเอนไซม์ที่ลำไส้เล็กสร้างขึ้น ได้แก่

1) มอลเทส (maltase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลมอลเทสให้เป็นกลูโคส

2) ซูเครส(sucrase)เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลซูโครส(sucrose)ให้เป็นกลูโคสกับฟรักโทส(fructore)

3) แล็กเทส(lactase)เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทส(lactose)ให้เป็นกลูโคสกับกาแล็กโทส(galactose)

การย่อยอาหารที่ลำไส้เล็กใช้เอนไซม์จากตับอ่อน(pancreas)มาช่วยย่อย เช่น

- ทริปซิน(trypsin) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนหรือเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน

- อะไมเลส(amylase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส

- ไลเพส(lipase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล

น้ำดี(bile) เป็นสารที่ผลิตมาจากตับ(liver)แล้วไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี(gall bladder)น้ำดีไม่ใช่เอนไซม์เพราะไม่ใช่สารประกอบประเภทโปรตีน โดยน้ำดีจะทำหน้าที่ย่อยโมเลกุลของไขมันให้เล็กลง แล้วน้ำย่อยจากตับอ่อนจะย่อยต่อทำให้ได้อนุภาคที่เล็กที่สุดที่สามารถแพร่เข้าสู่เซลล์
อาหารเมื่อถูกย่อยเป็นโมเลกุลเล็กที่สุดแล้ว จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก โดยโครงสร้างที่เรียกว่า”วิลลัส”(villus)ซึ่งมีลักษณะคล้ายนิ้วมือที่ยื่นออกมาจากผนังของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหาร

2.6 ลำไส้ใหญ่(large intestine) ที่ลำไส้ใหญ่ไม่มีการย่อย แต่ทำหน้าที่เก็บกากอาหารและดูดซึมน้ำออกจากกากอาหาร ดังนั้นถ้าไม่ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาหลายวันติดต่อกันจะทำให้เกิดอาการท้องผูก ถ้าเป็นบ่อยๆ จะทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร

ระบบต่างๆในร่างกาย